วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ความรู้เกี่ยวกับ พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรในประเทศไทย
(จากวิกิพีเดีย)

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ถือกำเนิดครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต ผู้สำเร็จการศึกษาจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 และถือสืบต่อปฏิบัติกันมาเป็นจนถึงรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระเมตตาอย่างหาที่สุดมิได้ ต่อบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เอง ในปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุเสด็จแทนพระองค์ ไปในการพิธีพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยของรัฐทุกมหาวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี

เพิ่มเติมที่ http://th.wikipedia.org/wiki/พิธีพระราชทานปริญญาบัตรในประเทศไทย



ครุยวิทยฐานะ
(จากวิกิพีเดีย)

ครุยวิทยฐานะ นับว่าเป็นชุดพิธีการถือธรรมเนียมปฏิบัติมาจากพิธีการสำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศตะวันตก ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยในประเทศไทยรับธรรมเนียมนี้มาประยุกต์ใช้ โดยได้กำหนดชุดครุยขึ้นเพื่อใช้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและจะใช้ครุยชนิดนี้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร เพื่อแสดงถึงปริญญา วิทยฐานะทางการศึกษาตามที่ตนสำเร็จการศึกษา การที่มหาวิทยาลัยใดจะกำหนดชุดครุยเป็นเครื่องแสดงวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยได้นั้น มหาวิทยาลัยจะต้องตราเป็นกฎหมาย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย ครุยแสดงวิทยฐานะบัณฑิตขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนั้น ๆ ผู้ใดไม่ได้สำเร็จการศึกษาในปริญญานั้น หากมีการนำชุดครุยประเภทนี้มาใช้โดยไม่ได้รับการอนุมัติจากมหาวิทยาลัยถือเป็นโทษทางอาญามีโทษสูงสุดถึงจำคุก ชุดครุยพระราชทานปริญญาบัตรที่ใช้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรในยุคปัจจุบันมีอยู่หลากหลายประเภท แถบสี ขนิดของเนื้อผ้า ตามแต่ละมหาวิทยาลัยจะกำหนดขึ้นมาเพื่อแสดงถึงวิทยฐานะทางการศึกษา ปริญญาของบัณฑิตที่จบการศึกษาในปริญญานั้น ๆ ทั้งนี้สามารถแยกชุดครุยที่ใช้พระราชทานปริญญาบัตรได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

1 ลักษณะของครุยวิทยฐานะ
1.1 รูปแบบตามแบบโบราณพระราชพิธีไทย
1.2 รูปแบบตามแบบตะวันตก

เพิ่มเติม http://th.wikipedia.org/wiki/ครุยวิทยฐานะ

ไม่มีความคิดเห็น: